ควรใช้จาระบี ที่มีค่าความเหนียวข้น LNGI สูง ขณะเกิดความร้อน

การเลือกจาระบีนั้นจะเลือกจากอุณหภูมิการทำงานของแบริ่ง และค่า dn

แต่อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เกิดความร้อน ควรใช้จาระบีแข็งที่เป็นชนิดเดียวกัน (ความเหนียวข้น LNGI สูง)

วิธีคำนวณค่าความเหนียวข้น (LNGI) ของจาระบี

1️⃣ หย่อนกรวยที่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ลงบนจาระบีที่ทำให้เรียบแบน

2️⃣ คูณความลึกที่จมลงไปใน 5 วินาทีแรกด้วย 10 

ในแบริ่งนั้น จะหล่อลื่นด้วยฟิลม์จาระบีบาง ๆ โดยทำให้เกิดร่องที่จาระบี

ด้วยการหมุนของลูกปืนเม็ดกลม (bearing ball) แต่หากเป็นจาระบีอ่อน จะติดสนิทไปกับลูกปืนเม็ดกลมจนเกิดร่องได้ยาก

เทคนิคสังเกตการปนเปื้อนหรือน้ำมันเสื่อมสภาพด้วยตัวเอง จากคู่มือ Japan!

การตรวจสอบการปนเปื้อนหรือเสื่อมสภาพของน้ำมันที่ใช้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย

วันนี้ Eneos นำเสนอ 2 เทคนิค วิธีตรวจสอบคุณภาพน้ำมันง่าย ๆ แบบเบื้องต้นด้วยตัวเอง จากคู่มือ Japan !

1️⃣ สังเกตจาก ความขุ่นมัวหรือตะกอนนอนก้น 

“ใส” = ปกติ

“ความขุ่นมัว หรือตะกอนนอนก้น” = อาจมีความชื้นปนอยู่

เก็บตัวอย่างน้ำมันมาไว้ในขวดแก้ว 

– ตกตะกอนนอนก้นที่ก้นขวดทันที เปลี่ยนถ่ายน้ำมันและกรองเพื่อฟื้นฟูน้ำมันทันที

– หลังปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน แล้วมีตะกอนสะสมที่ก้นขวด ให้กรองโดย Milipore filter และสังเกตสิ่งแปลกปลอมด้วยกล้องจุลทรรศน์

2️⃣ สังเกตการเปลี่ยนสี

น้ำมันหล่อลื่นจะเกิดการเปลี่ยนสีขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากการออกซิเดชันขณะใช้งาน

ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงนั้นจะแตกต่างกันไป ตามประเภทของสารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น 

ตัวอย่างน้ำมันที่ใช้งานใส่หลอดเก็บตัวอย่าง และเปรียบเทียบระดับการเปลี่ยนสีกับน้ำมันใหม่

ให้เก็บตัวอย่างน้ำมันที่ใช้งานใส่หลอดเก็บตัวอย่างและเปรียบเทียบระดับการเปลี่ยนสีกับน้ำมันใหม่

อุณหภูมิน้ำมันสูง สาเหตุน้ำมันเสื่อมสภาพก่อนถึงเวลาอันควร

ระดับของอุณหภูมิ คือปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออายุการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นเป็นอย่างมาก

โดยทั่วไป หากอุณหภูมิสูงเกิน 60℃ แล้ว การเพิ่มขึ้นทุก ๆ 10℃ อัตราการออกซิเดชันจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

ทำให้อายุการใช้งานลดลงครึ่งหนึ่ง จะเห็นได้ว่า เพียงควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำมัน

ก็สามารถยืดอายุการใช้งานของน้ำมันหล่อลื่นได้แล้ว

อุณหภูมิที่สูงขึ้นของน้ำมันหล่อลื่น อาจมาจากแหล่งกำเนิดความร้อนต่อไปนี้

3 แหล่งกำเนิดความร้อนหลัก ในระบบไฮดรอลิก

ปั๊ม : แรงเสียดทานของส่วนหมุนหรือส่วนสไลด์ของเครื่องจักร, แรงเสียดทานที่เกิดจากการรั่วซึมภายในของน้ำมัน เป็นต้น

ส่วนท่อ : แรงเสียดทานระหว่างผนังท่อและน้ำมัน, แรงเสียดทานที่เกิดจากการเปลี่ยนทิศทาง, แรงเสียดทานที่เกิดจากน้ำวน เป็นต้น

วาล์วควบคุม: แรงเสียดทานที่เกิดขึ้นขณะผ่านช่องว่างแคบๆของวาล์ว เป็นต้น

3 วิธี ควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิน้ำมัน

1️⃣  ติดตั้ง oil cooler ไว้กลางวงจรน้ำมัน

2️⃣ เพิ่มความจุของแท้งค์ เพื่อให้แท้งค์สามารถระบายความร้อนได้เพียงพอ

3️⃣ ติดตั้งตัววัดอุณหภูมิเครื่องจักรหรือเครื่องวัดอุณหภูมิดิจิทัล เพื่อให้สังเกตความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ

ความหนืดของน้ำมันสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานของแบริ่ง

การเลือกความหนืดของน้ำมันแบริ่งนั้น กำหนดจากเงื่อนไขในการออกแบบแบริ่ง

ซึ่งจะคาดคะเนถึงอุณหภูมิกับความหนืดไว้ก่อนล่วงหน้า ด้วยประสบการณ์โดยอิงจากความเร็วรอบการหมุนหรือโหลด เป็นต้น

จากนั้นจึงค่อยกำหนดระยะห่างแบริ่ง (bearing clearance), รูปแบบแบริ่ง, รูน้ำมัน, ร่องน้ำมัน, ปริมาณน้ำมัน

โดยเฉพาะแบริ่งกาบ (plain bearing) นั้น ในขณะที่ความเร็วรอบการหมุนและโหลดคงที่ ความหนืดจะขึ้นอยู่กับระยะห่างแบริ่ง

และจะส่งผลต่อความหนาของฟิล์มน้ำมัน (oil film), อัตราความเยื้องศูนย์, การสูญเสียจากแรงเสียดทาน (friction loss),

การเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิ, oil whip, ฯลฯ

มีตัวอย่างของการเลือกความหนืดที่ผิดพลาด จนทำให้เกิดการเพิ่มสูงขึ้นของอุณหภูมิแบริ่ง, การสั่นสะเทือน, เสียงเสียดสี, การสึกหรอของแบริ่ง ปรากฏให้เห็นเป็นครั้งคราว

รู้ได้ก่อนใคร หากน้ำมันเสื่อมสภาพ ENEOS แจกตารางเช็คลิสต์สถานะน้ำมันด้วยตัวเอง จากคู่มือ Japan !

น้ำมันที่อยู่ในแท้งค์น้ำมันไฮดรอลิกนั้นเสื่อมสภาพลงทุกวัน

ทั้งจากอุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้น มีขยะเข้าไปปะปน และการดูดความชื้น

แม้ในสภาพปกติ น้ำมันไฮดรอลิกจะมีน้ำผสมอยู่ประมาณ 0.04% อยู่แล้ว

แต่หากมีความชื้นเข้าไป จากสาเหตุ เช่น การควบแน่นของหยดน้ำที่ส่วนบนภายในแท้งค์ หรือการรั่วซึมของ oil cooler แล้ว

น้ำมันจะเปลี่ยนเป็นสีขาวน้ำนม และทำให้สูญเสียคุณสมบัติการหล่อลื่นในอุปกรณ์ไฮดรอลิก เช่น ปั๊ม

หรือทำให้ส่วนซีลปิดผนึกเกิดการบวมจากน้ำแล้วเสื่อมสภาพ จนกลายเป็นสาเหตุให้น้ำมันรั่วไหลได้

ซึ่งหากมองจากแท้งค์โดยตรง จะแยกแยะการเสื่อมสภาพของน้ำมันได้ยาก จึงควรกำหนดรอบการตรวจสอบ

คุณภาพน้ำมันโดยพิจารณาจากเวลาทำงานของอุปกรณ์หรือสภาพแวดล้อม

ENEOS ขอแนะนำเทคนิค 3 ข้อ พร้อมตารางเช็คสถานะน้ำมันเบื้องต้นด้วยตนเอง

1️⃣ เก็บน้ำมันที่อยู่สูงขึ้นมาจากก้นแท้งค์น้ำมันประมาณ 5 cm. ใส่หลอดทดลอง หลังจากหยุดเดินเครื่องแล้ว

      ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 24 ชั่วโมง

2️⃣ สังเกตสี และลักษณะภายนอก โดยนำไปเปรียบเทียบกับน้ำมันใหม่

3️⃣ เช็คสถานะ และวิธีแก้ปัญหาหากน้ำมันมีความผิดปกติ ตามตาราง

วิธีนี้เป็นเพียงการเช็คเบื้องต้นเท่านั้น ในบางกรณีอาจต้องขอคำแนะนำจากผู้ผลิตน้ำมันไฮดรอลิกโดยตรง

Food Pack Asia 2021

ENEOS Industrial Oil Seminar

Metalex 2020